กำเนิดของน้ำมันปิโตรเลียม



แหล่งน้ำมันดิบในปัจจุบันนี้มิใช่จะหามาได้ง่าย ๆ ในสมัยโบราณก็เพียงอาศัยใช้น้ำมันที่ไหลซึมขึ้นมาสู่พื้นดิน ในปลายศตวรรษที่ 18 มีรายงานการขุดน้ำมันในประเทศพม่า โรมาเนีย โปแลนด์และเยอรมันนี โดยใช้มือขุดเป็นส่วนใหญ่ เมื่อ Colonel Drakew ได้ขุดหลุมแรกสำเร็จที่ความลึก 69.5 ฟุต ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1859 อันเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะหาน้ำมันได้เพียงพอที่จะสร้างอุตสาหกรรมขึ้นมาได้ จากนั้นก็มีบ่อน้ำมันขึ้นอีกมากมาย ในศตวรรษที่ 20 การขุดน้ำมันจะทำใกล้ ๆ แหล่งที่มีน้ำมันซึมออกมาจากบนดิน ไม่มีการใช้หลักธรณีวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องเลย หลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีการค้นหาแหล่งน้ำมันดิบ โดยใช้หลักทางธรณีวิทยา่


เมื่อน้ำมันได้เกิดขึ้นที่พื้นที่แห่งหนึ่งแล้ว มันมันไม่อยู่ที่นั่น แต่จะไหลไปสู่แหล่งอื่นโดยอาศัยความดันอันเกิดจากพื้นหินที่ทับถมลงมาบนแอ่งน้ำมันนั้นในเวลานาน ๆ น้ำมันก็จะถูกบีบออกจากแหล่งกำเนิดถ้าหากมีช่องว่างให้ไปได้ตามรูซึมหรือรอยแตกของพื้นหินเข้าไปยังที่ใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านบน ด้านข้าง หรือด้านล่างได้ทั้งสิ้น ถ้าซึมขนบนอาจมาถึงผิวดินได้ ทำให้เห็นน้ำมันในที่ต่าง ๆ ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วนั้นเมื่อไหลซึมมาเรื่อย ๆ จะไม่สามารถไหลผ่านไปได้ตลอด เมื่อซึมผ่านมาเจอชั้นหินที่ทึบ นำ้มันก็ไม่สามารถที่จะซึมผ่านต่อไปได้ก็จะหยุดอยู่แค่นั้น และรวมตัวกันอยู่ ณ ที่แห่งนั้นกลายเป็นบ่อน้ำมัน การที่มันจะไปรวมกันเป็นแอ่งได้ ต้องมีหินพรุนที่มีลักษณะพื้นที่อุ้มน้ำมันไว้ได้ เช่น ชั้นหินทราย ชั้นหินปูน ประกอบกับทางองค์ประกอบทางธรณีวิทยาขอหินรอบ ๆ แอ่งน้ำมันนั้นเป็นหินแน่นที่มีลักษณะที่จะกั้นไม่ให้น้ำมันหนีไปที่อื่นได้ ปิโตรเลียมจะอยู่ในหินพรุนเหล่านั้น เมื่อน้ำมันอยู่ในแอ่งเป็นเวลานาน เกิดกระบวนการต่าง ๆ ภายใต้สถาวะความดันและอุณหภูมิสูง ก็จะได้แก๊สธรรมชาติออกมา ซึ่งจะอยู่กับน้ำมันดิบนั่นเอง


ลักษณะทางธรณีวิทยาที่จะพบน้ำมันดิบและแ็ก๊สธรรมชาติ แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
  1. Anticline Trap เป็นชั้นหินที่มีโครงสร้างเป็นรูประฆังคว่ำ
  2. Fauil Trap เป็นโครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน
  3. Stratigraphic Trap ชั้นหินจะมีแนวตรง ๆ
  4. Salt Dome เป็นโครงสร้างรูปโดม

ปิโตรเคมีกับปิโตรเลียม



ปิโตรเคมีและปิโตรเลียม
มาจากไหนเกือบทุกคนคงทราบดีแล้วว่ามาจากการที่ซากของสิ่งมีชีวิตทับถมกันภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม เป็นเวลาล้าน ๆ ปี ได้เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นนำ้มันดิบและแก๊สธรรมชาติ ในบ่อน้ำมันที่คนส่วนใหญ่รู้จักนั้น ไม่ใช่มีแต่น้ำมันดิบอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีแก๊สธรรมชาติอยู่ด้วย ซึ่งบางบ่อมีมีแก๊สธรรมชาติอยู่เท่าั้นั้น ก็เรียกบ่อแก๊สธรรมชาติ ดังนั้นสารประกอบไอโดรคาร์บอนที่ได้จากการขุดเจาะก็มีน้ำมันดิบกับแก๊สธรรมชาติ (ไม่ได้มีแต่น้ำมันดิบ)
ความแตกต่างระหว่างปิโตรเคมีและปิโตรเลียม อยู่ที่การนำสิ่งที่ได้จากการขุดเจาะเหล่านั้นไปใช้ในรูปแบบที่ แตกต่างกัน โดยปิโตรเคมีจะนำน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการทางเคมีเพื่อให้ได้สารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีมูลค่าสูงกว่าพวกน้ำมันเบนซีน ดีเซล แต่กระบวนการทำจะยุ่งยากซับซ้อน ส่วนปิโตรเลียมนั้นจะนำสิ่งที่ได้จากการขุดเจาะเหล่านั้นมาใช้ในรูปของพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการนำไปผลิตไฟฟ้า หรือการเปลี่ยนเป็นน้ำมันเบนซิน, ดีเซล ฯลฯ ใช้ในการขนส่ง ซึ่งมูลค่านั้นจะต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเคมี แต่กระบวนการนั้น เพียงแค่ใช้การกลั่นลำดับส่วน (กระบวนการทางกายภาพ) เท่านั้น